อยากเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ร้านขายน้ำเล็กๆ ควรรู้อะไรบ้างก่อนเปิด

สำหรับคนที่กำลังคิดจะเปิดร้านขายกาแฟเล็ก ๆ ซึ่งเป็นความฝันของใครหลายคน วันนี้ทาง Grab ได้รวบรวมหาข้อมูลดี ๆ สำหรับคนที่คิดว่ากำลังจะเริ่มต้นเปิดร้านขายน้ำเล็ก ๆ ต้องทำยังไงถึงจะขายดีมีกำไร สร้างร้านกาแฟเล็ก ๆ ให้ประสบผลสำเร็จ เปิดร้านกาแฟจะต้องเตรียมอะไรบ้าง โดยเฉพาะร้านค้าที่เพิ่งเปิดใหม่ สำหรับใครที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านกาแฟ หรือแม้แต่ร้านเครื่องดื่มอย่างชาไข่มุก ร้านน้ำปั่น ก็ต้องไม่พลาดที่จะดูว่าหลัก ที่ควรรู้ครบหรือยัง วันนี้ทาง Grab เราจะมาแนะนำวิธีเตรียมตัวก่อนเปิดร้านด้วยตัวเองให้ครบวงจร พร้อมแล้วลองมาศึกษาไปพร้อม ๆ กันได้เลย 

เปิดร้านกาแฟเล็กๆ ต้องรู้อะไรก่อน

รู้จักประเภทกาแฟ

รู้จักประเภทกาแฟ

ก่อนที่จะเริ่มเปิดร้านกาแฟเล็กๆ คุณจะต้องเริ่มศึกษาตลาดเสียก่อน ว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มไปในการดื่มกาแฟประเภทไหน กาแฟมีหลากหลายชนิด แต่ที่นิยมกันก็จะมีดังนี้

  • Espresso (เอสเปรสโซ) เป็นเหมือนเบสของกาแฟทั้งหมด เพราะเป็นกาแฟที่สกัดออกมาเป็นช็อต เข้มข้นที่สุด
  • Americano (อเมริกาโน่) หรือกาแฟดำ เป็นเอสเปรสโซใส่น้ำเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ให้เจือจางลง มีทั้งแบบเย็นและแบบร้อน หรือบางสูตรอาจมีการเพิ่มน้ำผึ้ง น้ำส้ม น้ำเชื่อมต่าง ๆ ลงไป
  • Cappuccino (คาปูชิโน)  กาแฟนมที่มีฟองนมนุ่ม ๆ ด้านบนเป็นเอกลักษณ์ ดื่มได้ทั้งแบบกาแฟร้อน กาแฟเย็น และเป็นเมนูกาแฟปั่นก็ได้ 
  • Caffè Mocha (มอคค่า) เมนูกาแฟเอาใจช็อกโกแลตเลิฟเวอร์ เพราะมีส่วนผสมของกาแฟเอสเปรสโซ และช็อกโกแลตซอสลงไปในปริมาณเท่า ๆ กัน และตามด้วยนมร้อน สำหรับกาแฟมอคค่าก็ถือว่ากินง่าย หอมนัวด้วยกลิ่นช็อกโกแลต 
  • Caffe latte (ลาเต้) เป็นเมนูกาแฟผสมนมที่รสชาติไม่เข้มมาก เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มหัดกินกาแฟ หรือหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับเมนูลาเต้ร้อนมักจะมีการทำลาเต้อาร์ต เป็นลวดลายต่าง ๆ 
  • Caramel Macchiato (มักคิอาโต้) เป็นกาแฟเอสเปรสโซที่เติมนม พร้อมกับซอสคาราเมลหอมหวาน ทำให้รสชาตินัวและดื่มง่ายขึ้น

นอกจากกาแฟสดแล้ว คุณต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อสินค้าประเภทอื่น ๆ ในร้านกาแฟเช่น เมล็ดกาแฟ, เบเกอรี่, ชา, เครื่องดื่มไม่มีคาเฟอีนอื่น ๆ

ศึกษาราคากาแฟ

นอกจากประเภทของกาแฟแล้ว การศึกษาราคากาแฟสดในท้องตลาด ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งราคานั้น ๆ เช่นต้นทุนการผลิต, คุณภาพของเมล็ดกาแฟ, การนำเข้าของวัตถุดิบ, บรรยากาศภายในร้าน, ชื่อแบรนด์ของร้าน เพื่อเปรียบเทียบ และวางแผนบริหารจัดการควบคุมต้นทุน และกำหนดราคาขายที่เหมาะสม

อยากเปิดร้านขายน้ำเล็กๆ ต้องวางแผนการลงทุน

เริ่มต้นวางแผนการลงทุนและงบประมาณ

คำถามที่ว่าเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ต้องมีอะไรบ้าง สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจนั่นก็คือ “เงิน” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ซึ่งการแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมกับแต่ละหมวดหมู่ก็เป็นเรื่องสำคัญ ในหมวดลงทุนเริ่มต้น ได้แก่ จำพวกค่าก่อสร้าง ค่าตกแต่งร้าน ค่าป้าย เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ระบบน้ำ ไฟ เครื่องเก็บเงิน (เครื่องคิดเงิน หรือระบบ POS) อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นจะต้องละเอียดรอบคอบในการวางแผนเมนูต่าง ๆ ที่จะสอดคล้องกับเงินทุนเริ่มต้นของร้านนั้น ๆ ด้วย 

เงินทุนหมุนเวียนจำเป็นในการเปิดร้าน

  • วัตถุดิบสินค้า เช่น เมล็ดกาแฟ นมสด นมข้นหวาน น้ำตาล วิปครีม น้ำสะอาด น้ำแข็ง ซองน้ำตาล ซองครีมเทียม เป็นต้น ประเมินว่าจะต้องเก็บไว้เท่าไร คำนวณคร่าว ๆ ว่าจะขายกี่แก้วต่อวันหรือต่อสัปดาห์ วัตถุดิบบางอย่างเก็บไว้นานไม่ได้ เช่น นมสด ต้องประมาณว่าจะใช้เท่าไรไม่ให้เหลือมากหรือน้อยจนเกินไป 
  • บรรจุภัณฑ์ เช่น แก้วกาแฟ ฝาปิด หลอดดูด กระดาษทิชชู่ เป็นต้น ในกรณีของแก้วกาแฟ บางคนอยากจะทำโลโก้ร้านสกรีนบนแก้วกาแฟ ต้องพิจารณาให้ดีว่าจะต้องทำขั้นต่ำกี่แก้ว ยิ่งสั่งทำน้อย ราคาต่อแก้วยิ่งสูง
  • ค่าจ้างพนักงาน ทั้งพนักงานประจำ และพนักงาน Part Time หรือรายวัน ต้องคำนวณให้ได้ว่าควรมีพนักงานกี่คน มากน้อยตามความเหมาะสมของเวลา ของจำนวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ นอกเหนือจากค่าจ้างแล้วต้องพิจารณาเรื่องสวัสดิการ โบนัส ค่าทำงานนอกเวลาหรือ OT เป็นต้น
  • ค่าสาธารณูปโภค ควรคำนวณให้ได้ว่าจะเสียค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาเท่าไรต่อเดือน สามารถเทียบเคียงกับร้านข้างเคียงได้
  • ค่าเช่าสถานที่ ควรศึกษาสัญญาเช่าให้ละเอียดว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ค่าเช่ารายเดือน ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้ากี่เดือน และเงินมัดจำหรือเงินประกันตามสัญญาเช่า ซึ่งเงินมัดจำจะได้คืนเมื่อหมดสัญญาเช่าหรือจะถูกยึดไป เมื่อไม่สามารถชำระค่าเช่ารายเดือนตามที่ตกลงไว้

ค่าเช่าสถานที่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ หรือต้นทุนคงที่ในกรณีที่สัญญาเช่ากำหนดให้ชำระเท่ากันทุกเดือน และจะเป็นต้นทุนผันแปรเมื่อสัญญาเช่าระบุให้กำหนดเป็น GP หรือ Gross Profit คำนวณเป็นร้อยละต่อยอดขาย เช่น GP 18% ผู้ประกอบการจะคำนวณค่าเช่าจาก ยอดขาย (100,000 บาท) คูณอัตรา GP ร้อยละ 18 จะต้องชำระค่าเช่าเท่ากับ 18,000 บาท ที่สำคัญ เวลาเจรจากับเจ้าของสถานที่ต้องรู้ให้หมดว่า ยังมีค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวข้องอีกบ้าง เมื่อหาทำเลสำหรับเปิดร้านกาแฟ เวลาเจรจากับเจ้าของสถานที่ อย่าลืมถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าที่จอดรถ ค่าใช้จ่ายในการร่วมมือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ค่าเช่าที่ระบุในสัญญามักไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าภาษีโรงเรือนที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบจ่ายด้วย ปกติประมาณ 12.5% ของค่าเช่า 

วิเคราะห์จุดคุ้มทุน ประเมินระยะเวลาคืนทุนได้

จุดคุ้มทุนเป็นเหมือนเป้าหมายขั้นต่ำในการดำเนินงานของร้านในแต่ละเดือน เนื่องจากถ้าขายได้ต่ำกว่าจุดคุ้มทุน มีรายได้น้อยกว่า รายจ่าย แปลว่ากำไรติดลบ ขาดทุนนั่นเอง โดยจุดคุ้มทุน คำนวณจากจำนวนแก้วที่ต้องขายโดยประมาณการไว้หกลับค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือนแล้วก็ประมาณการ จะได้จุดคุ้มทุน จุดคุ้มทุนที่ต่ำสุดคือ จุดที่รายได้และรายจ่ายหักลบกันแล้วได้มากกว่า 0 บาทขึ้นไป

ประเมินระยะเวลาคืนทุนได้

โดยคำนวณจากต้นทุนเริ่มต้นทั้งหมด (ไม่รวมเงินทุนหมุนเวียน) แล้วหารด้วยกำไรจากการดำเนินงานต่อเดือน (กำไรจากการดำเนินงานต่อเดือน สามารถหาได้จากการคำนวณจำนวนแก้วที่ขายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน ลบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแต่ละเดือน) จะได้ระยะเวลาหรือจำเดือนทั้งหมดที่ใช้จนกว่าจะถึงจุดคืนทุน

 

 

 อยากเปิดร้านขายน้ำเล็กๆ ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมาย

รู้จักกลุ่มเป้าหมายก่อนเปิดร้าน

สำหรับใครที่อยากเปิดร้านขายน้ำหรือร้านกาแฟเล็กๆ สำรวจตลาดก่อนว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และใช้บริการร้านกาแฟขณะนี้เป็นอย่างไร การกำหนดกลุ่มลูกค้าร้านของเราให้ชัดเจนว่าจะขายให้ใคร เช่น กลุ่มนักเรียน นักศึกษา กลุ่มพนักงานออฟฟิศ เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม ความชอบ กระแส และคู่แข่ง เพื่อลดจุดอ่อน และพัฒนาจุดแข็งของร้านต่อไป

เลือกทำเลและที่ตั้งให้เหมาะสมก่อนเปิดร้านเปิดร้านกาแฟเล็กๆ

เลือกทำเลและที่ตั้งให้เหมาะสมก่อนเปิดร้านเปิดร้านกาแฟเล็กๆ

การเลือกทำเลที่ใช่นั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะยิ่งร้านของเราตั้งอยู่ใกล้กลุ่มเป้าหมายมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยดึงดูดใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่ร้านของเราได้มากเท่านั้น ทั้งนี้ยังช่วยให้ร้านคืนทุนได้ไว เพิ่มโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น และหากทางร้านมีพื้นที่จอดรถไว้ให้บริการลูกค้าด้วย ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ดึงดูดใจให้ลูกค้าอยากเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วยซึ่งเราก็มีทำเลดีๆ มาแนะนำให้เช่นกัน

ร้านกาแฟย่านสถานศึกษา

ลูกค้าคือกลุ่มนักเรียน-นักศึกษา มักจะมาเป็นกลุ่มกับเพื่อน มีกำลังซื้อ แม้บางเมนูจะมีราคาสูง แต่สามารถช่วยกันแชร์ค่ากาแฟหรือขนมได้ ร้านกาแฟย่านนี้จะต้องมีเมนูที่หลากหลาย เพราะกลุ่มนี้นิยมสั่งเมนูอื่น นอกจากกาแฟ พวกโกโก้ปั่น ช็อคโกแลต สมูตตี้  โดยเพิ่มขนมจำพวกเค้ก พาย ไอศรีม หรือบิงซูเข้าไปเมนูด้วย  ถ้าอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย ควรจัดให้มีปลั๊กไฟ Wifi หรือห้องประชุมงานให้ใช้ฟรี เพราะช่วงสอบนักศึกษามักจะมานั่งอ่านหนังสือกัน และสั่งกาแฟกันเยอะเช่นกัน

ร้านกาแฟย่านสำนักงาน

ลูกค้าคือกลุ่มคนทำงาน-พนักงานออฟฟิศ ร้านย่านนี้ต้องเน้นเมนูกาแฟ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้สั่งกาแฟเป็นหลัก จะมีลูกค้าเข้า-ออกเยอะมาก ลูกค้าหลายคนจะเลือกร้านจากความรวดเร็ว-คิวไม่ยาว มากกว่ารสชาติกาแฟ เพราะต้องรีบซื้อและรีบไปทำงาน ดังนั้น โจทย์ใหญ่คือจะทำอย่างไรให้ชงกาแฟได้เร็วที่สุดและอร่อยที่สุด ส่วนเมนูขนมที่เหมาะกับลูกค้ากลุ่มนี้คืออะไรที่กินกับกาแฟและสามารถซื้อติดไปกินที่โต๊ะทำงานได้ เช่นพวกครัวซอง แซนวิช คุกกี้ ฯลฯ ทางร้านสามารถเพิ่มกาแฟเมนูพิเศษ เช่น Cold brew ที่สกัดไว้ก่อนและนำใส่ตู้ไว้ เป็นการเพิ่มยอดให้ร้านได้ บริการปลั๊กไฟ และ Wifi ฟรีต้องมีเช่นกัน

ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน

กลุ่มลูกค้าจะเป็นคนขับรถเป็นหลัก ดังนั้นกาแฟจะต้องมีรสเข้ม และมีคาเฟอีนเยอะสักหน่อย เป็นกลุ่มที่เร่งรีบ รีบซื้อ รีบไป จะนั่งที่ร้านไม่นาน ดังนั้นกาแฟควรจะต้องออกได้เร็ว ไม่จำเป็นต้องมีปลั๊กไฟหรือ Wifi ก็ได้ ร้านต้องเปิดเช้าและปิดค่ำ ขายคู่กับขนมที่นำไปกินที่ทำงานหรือบนรถได้สะดวก

สำหรับคนที่อยากเปิดร้านขายน้ำเล็กๆ ยังมีอีกหลายทำเลที่ต้องทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าให้ดี แต่โดยสรุปแล้ว เราจำเป็นจะต้องรู้ให้ได้ก่อนว่า “ลูกค้าเป็นใคร ช่วงอายุเท่าไหร่ ดื่มตอนไหน และชอบดื่มหรือกินอะไร” จะได้วางแผนในการทำเมนู และจัดการร้านให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากที่สุดเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ให้มีบรรยากาศดีเพื่อดึงดูดลูกค้า

สร้างร้านกาแฟเล็กๆ ให้มีบรรยากาศดีเพื่อดึงดูดลูกค้า

ร้านกาแฟปัจจุบันไม่ใช่แค่ร้านขายกาแฟอีกต่อไป ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์จากร้านกาแฟมากยิ่งขึ้น ดังนั้นร้านกาแฟต้องมอบประสบการณ์การดื่มกาแฟที่เหนือกว่า รวมถึงไอเดียการออกแบบร้านกาแฟมีหลากหลายสไตล์ ลองเลือกสไตล์ร้านกาแฟที่โดดเด่นในพื้นที่ของคุณเพื่อเป็นจุดขายให้สำหรับร้าน
นอกจากสไตล์ร้านกาแฟแล้วนั้น คุณอาจจะต้องมีมุมถ่ายรูป เกม หรือกิจกรรมให้กับลูกค้าได้เล่นเมื่ออยู่ในร้านกาแฟ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวสร้างบรรยากาศ และสร้างความแตกต่างให้กับ ร้านกาแฟเล็ก ๆ ของคุณ

ประเภทร้านกาแฟที่ควรรู้

Coffee Kiosk

เป็นรูปแบบร้านกาแฟขนาดเล็กที่มีพื้นที่จำกัด มาในรูปแบบของตู้หรือแบบเคาเตอร์ ซึ่งอาจจะมีโต๊ะนั่งประมาณ 3 – 4 โต๊ะหรือไม่มีเลยก็ได้ มักจะตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านหนาแน่น เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า หรือใต้อาคารสำนักงาน ร้านกาแฟแบบ Coffee Kiosk เน้นให้บริการแก่ลูกค้าอย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย โดยที่ลูกค้าสามารถสั่ง และรับกาแฟได้โดยตรงที่จุดบริการโดยไม่ต้องเข้าไปในร้านขนาดใหญ่ ถือเป็นร้านกาแฟที่ลงทุนน้อยเมื่อเทียบกับร้านกาแฟในรูปแบบอื่น ๆ แถมยังมีแบบเเฟรนไชส์ให้เลือกอีกด้วย

Full Service

ร้านกาแฟแบบ Full Service จะมีพื้นที่ และที่นั่งมากกว่า รวมไปจนถึงเมนูเครื่องดื่ม ขนมที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งแยกประเภทออกไปได้อีก 2 ประเภท คือ 

  • ประเภท Chain Store แบรนด์ดัง ๆ ที่คุณคุ้นคุณเคย
  • ประเภท Independent ร้านกาแฟที่ไม่มีสาขา ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการก็จะเป็นนักลงทุนเริ่มต้นหรือคนที่สนใจอยากทำธุกิจ 

ดังนั้นร้านกาแฟประเภทนี้สามารถเปิดร้านได้ทั้งในศูนย์การค้า ปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั้งย่านการค้าใจกลางเมือง ที่มีคนสัญจรไปมา และการเปิดร้านกาแฟที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะตามมาด้วยงบประมาณในการลงทุนที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตกแต่งร้าน พนักงาน หรือวัตถุดิบ แต่ถึงอย่างนั้นการเปิดร้านแบบ Full Service ก็ได้รับกระแสนิยมเป็นอย่างมาก เพียงแค่คุณจะต้องบริหาร วิเคราะห์ คำนวณ เพื่อวางแผนการลงทุนอย่างรัดกุมไม่บานปลาย

Specialty Coffee

ร้านกาแฟประเภทนี้ถือว่าใกล้เคียงกับร้านกาแฟประเภท Full Service แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ ร้านกาแฟประเภทนี้จะเน้นไปที่การเลือกสรรเมล็ดกาแฟ นำเสนอทักษะการชงกาแฟ พร้อมมอบประสบการณ์ลิ้มรสชาติที่ต่างกรรมวิธี จากบาริสต้าผู้เชี่ยวชาญเรื่องกาแฟโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้เงินทุนในการลงทุนสูงกว่า แต่ผลของเงินลงทุนที่สูงกว่า ก็คือคู่แข่งทางด้านธุรกิจน้อยกว่าแบบ Full Service มาก

Coffee Mixologist

ร้านกาแฟประเภทสุดท้ายที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก คำว่า Mixologist เป็นคำที่ใช้กันในวงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภท Cocktail ซึ่งหน้าที่หลักคือการคิดค้น และผสมผสานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากวัตถุดิบที่มี ซึ่งการชงเครื่องดื่มของ Mixologist เป็นการชงที่ใช้เทคนิคที่คล้ายกับการทดลองวิทยาศาสตร์และมีการนำเสนอที่น่าสนใจ โดยการเกิดมาของ Coffee Mixologist ถือเป็นจุดขายและเป็นสีสันใหม่ ๆ ให้กับร้านกาแฟ แต่สำหรับใครที่ต้องการเปิดร้านประเภทนี้ เจ้าของกิจการหรือพนักงานจะต้องมีความรู้ มีความสามารถทั้งด้านกาแฟ และเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ร่วมด้วย รวมถึงการลงทุน เปิดร้านกาแฟ ประเภทนี้อาจจะใช้เงินลงทุนมากกว่าร้านกาแฟประเภทอื่นศึกษาช่องทางการขายก่อนเปิดร้านเปิดร้านกาแฟเล็กๆ

ศึกษาช่องทางการขาย หน้าร้าน ออนไลน์-Delivery

หลังจากที่คุณเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ แล้ว คุณจะต้องโปรโมทร้านของคุณให้เป็นที่รู้จักผ่านเครื่องมือทางการตลาด โดยการสร้างตัวตนผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือเข้าร่วมแอปฯ เดลิเวอรี่ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มีทั้งแบบมีค่าใช้จ่าย และไม่มีค่าใช้จ่าย

การโปรโมทร้านกาแฟ

เครื่องมือในการโปรโมทร้านกาแฟถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยสร้างความนิยมสำหรับร้านกาแฟของคุณ โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่

โปรโมทร้านกาแฟแบบไม่มีมีค่าใช้จ่าย

  • สร้าง Facebook Fan Page
  • สร้าง Instagram Account
  • ปักหมุดบน Google My Business

โปรโมทร้านกาแฟแบบมีค่าใช้จ่าย

  • คุณสามารถโปรโมทให้คนรู้จักธุรกิจร้านกาแฟของคุณได้โดยการ Boost Post หรือทำโฆษณาบน Facebook และ Instagram
  • การทำโฆษณาบน Google Ads
  • ติดป้ายโฆษณาในสถานที่ใกล้เคียง ให้คนที่เดินทางผ่านไปมารู้จักกับร้านของคุณ
  • เชิญชวนเหล่า Influencer ให้เข้ามาทานกาแฟที่ร้านของคุณ แล้วให้พวกเขารีวิวเป็นค่าตอบแทน
  • เข้าร่วมแอปฯ เดลิเวอรี่ อย่าง Grab เพื่อโปรโมท และบริการจัดส่งถึงที่
    • ข้อดีของการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ร้าน กับ แกร็บ 
      • ขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขาย
      • ได้เงินทันทีในวันถัดไป
      • มีสินเชื่อเงินสดถึง 100,000 บาท ช่วยร้านให้เติบโต
      • สิทธิประโยชน์มากมาย
      • ที่สำคัญฟรี ค่าสมัคร ไม่มีค่าใช้จ่ายแรกเข้า 

การสร้างร้านกาแฟ เปิดคาเฟ่เล็ก ๆ นั้นคงเป็นความฝันของใครหลายคนในประเทศไทย ดังนั้นก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือสร้างธุรกิจนี้ ลองศึกษา วางแผนการเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ด้วยวิธีการเริ่มต้นธุรกิจก่อนไม่ว่าร้านกาแฟของคุณจะเล็กหรือใหญ่ เพียงคุณเลือกทำเลดีๆ บริหารจัดการให้ดี และเลือกใช้ช่องทางโปรโมทธุรกิจได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ผลตอบแทนจากการโปรโมทก็อาจจะได้ผลลัพธ์เกินคาด และถ้าหากสนใจสมัคร GrabMerchant สำหรับร้านค้า หรืออยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ https://www.grab.com/th/merchant/