เมื่อในปัจจุบันโควิดนั้นเริ่มกลายเป็นโรคไข้หวัดชนิดหนึ่ง ทำให้ผู้คนออกจากบ้านมากขึ้น แน่นอนว่าอาชีพที่กลับมาคึกคักมากขึ้น ก็คือ อาชีพขับรถรับจ้างอย่างการเป็นพาร์ทเนอร์แกร็บคาร์นั่นเอง หากคุณอยากจะนำรถยนต์มาทำอาชีพเสริมเพื่อที่จะสร้างรายได้พิเศษให้ตัวเอง แกร็บก็พร้อมซัพพอร์ตให้คุณทันที
และหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ทาง Grab อยากจะสนับสนุนให้พาร์ทเนอร์แกร็บคาร์ทำนั้น ก็คือ การทำใบขับขี่สาธารณะนั้นเอง เพราะ นอกมีความสามารถในการขับรถ และเข้าใจกฎจราจรเป็นอย่างดีแล้ว จะต้องมีใบขับขี่ที่ใช้สำหรับการขับรถประเภทนั้น ๆ โดยเฉพาะด้วย เช่น ใบขับขี่รถยนต์ ใบขับขี่แท็กซี่ เพื่อให้การขับขี่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถึงแม้ว่าใบขับขี่สาธารณะนั้น จะใช้เอกสารที่คล้ายกันกับใบขับขี่รถส่วนบุคคล แต่ก็มีความแตกต่างที่คนขับรถสาธารณะทุกคนต้องรู้ ทาง Grab ก็ได้สรุปขั้นตอนและวิธีการทำใบขับขี่สาธารณะที่เข้าใจง่าย ๆ และยังตอบคำถามว่าใบอนุญาตขับรถสาธารณะมีอายุกี่ปี ไว้ให้เเล้วในบทความนี้
เริ่มต้นทำความรู้จัก ใบขับขี่สาธารณะ นั้นคืออะไร
ใบขับขี่สาธารณะ คืออะไร
ใบขับขี่สาธารณะ คือ เอกสารที่ผู้ขับรถสาธารณะต่าง ๆ เช่น รถยนต์สาธารณะ แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ และรถสามล้อ จำเป็นต้องมีไว้ทุกครั้งในการเดินทาง เพื่อเอาไว้ใช้ยืนยันว่ามีความสามารถในการขับขี่ และได้รับอนุญาตให้ขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งสามารถพกได้ทั้งบัตรตัวจริง และ ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์แทนได้
ใบขับขี่สาธารณะมีอายุกี่ปี มีกี่ประเภท
-
ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป
ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไปเป็นประเภทใบขับขี่ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด โดยเป็นใบขับขี่ถาวรที่สามารถขอรับได้หลังจากใบขับขี่แบบชั่วคราวหมดอายุแล้ว มีระยะเวลาใช้งานแตกต่างกันตามประเภทของรถยนต์ที่ใช้ และมีอัตราค่าธรรมเนียมดังนี้
-
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล มีอายุการใช้งาน 5 ปี ค่าธรรมเนียม 500 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ มีอายุการใช้งาน 3 ปี ค่าธรรมเนียม 300 บาท
-
ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราว
ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราวเป็นใบขับขี่ใบแรกที่ได้รับจากการทำใบขับขี่ครั้งแรก มีอายุการใช้งานสั้นกว่าใบขับขี่ถาวร และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
-
- ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว อายุการใช้งาน 2 ปี ค่าธรรมเนียม 100 บาท
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลแบบชั่วคราว อายุการใช้งาน 2 ปี ค่าธรรมเนียม 50 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) ชั่วคราว อายุการใช้งาน 2 ปี ค่าธรรมเนียม 50 บาท
-
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ โดยเมื่อใบขับขี่ชั่วคราวหมดอายุแล้ว จะสามารถขอรับใบขับขี่ถาวรที่มีระยะเวลาการใช้งานยาวขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
-
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล อายุการใช้งาน 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ อายุการใช้งาน 3 ปี ค่าธรรมเนียม 150 บาท
-
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊ก
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊ก มีเงื่อนไขเหมือนกับใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป โดยเมื่อใบขับขี่ชั่วคราวหมดอายุแล้ว จะสามารถขอรับใบขับขี่ถาวรที่มีระยะเวลาการใช้งานนานขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
-
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล อายุการใช้งาน 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ อายุการใช้งาน 3 ปี ค่าธรรมเนียม 150 บาท
-
ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ และใบขับขี่รถบดถนน
สำหรับผู้ที่ต้องการขับขี่รถแทรกเตอร์หรือรถบดถนน จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะเพื่อความปลอดภัย และมีทักษะในการควบคุมรถอย่างถูกต้อง ใบขับขี่ประเภทนี้มีรายละเอียดดังนี้
-
- ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ และใบขับขี่รถบดถนน อายุการใช้งาน 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท
-
ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ
ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า ใบขับขี่สากล เป็นใบอนุญาตที่ใช้ขับขี่ยานพาหนะในต่างประเทศได้ โดยผู้ขอใบขับขี่สากลจะต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลก่อนจึงจะสามารถขอรับได้ รายละเอียดมีดังนี้
-
- ใบขับขี่สากลอนุสัญญาเจนีวา 1949 อายุการใช้งาน 1 ปี ค่าธรรมเนียม 505 บาท
- ใบขับขี่สากลอนุสัญญาเวียนนา 1968 อายุการใช้งาน 3 ปี ค่าธรรมเนียม 505 บาท
จะทำใบขับขี่สาธารณะ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?
การขอรับใบขับขี่สาธารณะไม่ได้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากนัก แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามประเภทของใบขับขี่ ดังนี้
- มีใบขับขี่รถส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถสามล้อส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
- ทำใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ เช่น ใบขับขี่แท็กซี่ และรถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุ 22 ปีขึ้นไป ส่วนใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- มีความสามารถในการขับรถ และเข้าใจกฎจราจร
- ไม่มีโรคประจำตัว และร่างกายไม่พิการจนไม่สามารถขับรถได้
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
- ไม่อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
- ไม่เคยมีคดีเกี่ยวกับการขับรถ หรือโดนปรับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีต่าง ๆ แต่หากเคยรับโทษ ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
-
- กรณีจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- กรณีจำคุกเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
- กรณีจำคุกเกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
- กรณีอื่น ๆ เช่น โดนปรับ รอลงอาญา รอขึ้นศาล ต้องมีเอกสารทางคดีจากสถานีตำรวจมายืนยันชี้แจงเกี่ยวกับคดีความ
ขั้นตอนการเป็นรถรับจ้างสาธารณะ
ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียนอบรมออนไลน์
ไปที่เว็บไซต์ https://www.dlt-elearning.com เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ กรอกฟอร์มประสงค์ที่จะทำใบขับขี่ และดูวิดีโออบรมพร้อมทำแบบทดสอบให้ครบถ้วน เมื่อผ่านการอบรมออนไลน์ ท่านจะได้คิวอาร์โค้ด โดยจะมีอายุ 180 วัน โดยการเข้าฝึกอบรมออนไลน์ 3 ชั่วโมง จะประกอบไปด้วย
- การฝึกอบรมภาคบังคับ
- การฝึกอบรมเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางการเดินทาง
- การฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ขับขี่รถสาธารณะ
- การฝึกอบรมการให้บริการ
ขั้นตอนที่ 2 จองคิวเพื่อเข้ารับการทดสอบ
หลังจากนั้นก็ทำการจองคิวผ่านทางเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th หรือ แอป DLT Smart Queue โดยสามารถทำการ เลือกชนิดใบขับขี่ที่ต้องการจะทำ สถานที่ วัน และเวลาได้เลย ท่านจะได้รับคิวอาร์โค้ดเพื่อเป็นการยืนยันในการจองคิว
ขั้นตอนที่ 3 ยื่นเอกสาร
ก่อนที่เราจะถึงวันที่จองไว้ ต้องเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย และไปที่กรมขนส่งตามวันที่จองไว้ เพื่อยื่นเอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชน (ที่ไม่หมดอายุ)
- ใบขับขี่ส่วนบุคคล (ที่ไม่หมดอายุ)
- ใบรับรองแพทย์ แจ้งคลินิกว่าสำหรับทำใบขับขี่สาธารณะ โด
- ต้องขอไม่เกิน 30 วัน ก่อนไปทดสอบที่ขนส่ง
- คิวอาร์โค้ดผ่านการอบรม (อายุไม่เกิน 180 วัน)
ขั้นตอนที่ 4 เข้ารับการทดสอบ
หลังจากที่ยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้ว ทางขนส่งจะเริ่มให้เราทดสอบสมรรถภาพร่างกาย4 อย่างด้วยกัน
- ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
- ทดสอบสายตาทางลึก
- ทดสอบสายตาทางกว้าง
- ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)
พร้อมสอบภาคทฤษฎี (ข้อเขียน) โดยจะต้องผ่านทั้งหมด 90% สำหรับภาคทฤษฎี ซึ่งทางแกร็บก็มีติวให้อยู่แล้วที่ Grab Academy และหลังจากผ่านข้อเขียนก็ต้องมีการสอบปฏิบัตินั่นก็คือ การสอบขับรถ นั่นเอง
เมื่อผ่านการทดสอบทุกอย่างแล้ว ทางขนส่งจะให้เอกสาร ดังนี้
- หนังสือขอตรวจประวัติอาชญากรรม (เพื่อเก็บไว้และนำไปใช้ยื่นตรวจประวัติขั้นตอนที่ 5.)
- ใบรับรองการผ่านอบรม
ขั้นตอนที่ 5 ตรวจประวัติอาชญากรรม
นำหนังสือขอตรวจประวัติได้จากขั้นตอนที่ 4 ไปยื่นขอตรวจประวัติ โดยมีรายละเอียดตามด้านล่างนี้
- กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปทุมวัน)
- ต่างจังหวัด: ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1-10 หรือ พิสูจน์หลักฐานจังหวัด หรือ สถานีตำรวจที่อยู่ใกล้ [สถานที่ตรวจประวัติทั้งหมด]
- รอผลตรวจประวัติ (ประมาณ 2-3 สัปดาห์)
- ค่าตรวจ 100 บาท
ขั้นตอนที่ 6 ไปขอรับใบขับขี่ที่กรมขนส่ง
- นำเอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรที่ตรวจแล้วส่งให้กับเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก
- ถ่ายรูปสำหรับทำใบขับขี่
- รับใบขับขี่สาธารณะ
- ชำระค่าธรรมเนียม 305 บาท
เอกสารที่ใช้ในการทำใบขับขี่สาธารณะในแต่ละกรณี
-
ทำใบขับขี่รถสาธารณะใหม่ (กรณีขอใหม่)
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
- บัตรประชาชนตัวจริง
- ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน
-
กรณีต่ออายุใบขับขี่รถสาธารณะ
- ใบขับขี่สาธารณะของเดิม
- บัตรประชาชนตัวจริง
- ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน
-
กรณีใบขับขี่รถสาธารณะหาย
- ใบแจ้งความ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
ใบขับขี่สาธารณะมีอายุกี่ปี มีกี่ประเภท
ใบขับขี่สาธารณะมีอายุทั้งหมด 3 ประเภท
• ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ อายุ 3 ปี
• ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ อายุ 3 ปี
• ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ อายุ 3 ปี
เมื่อได้รู้ขั้นตอนของการขอรับใบขับขี่สาธารณะแล้ว ก่อนที่จะไปทำใบขับขี่เราต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อความรวดเร็ว และหากใครที่สนใจนำรถยนต์มาหารายได้เสริมให้ตัวเอง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเข้ามาได้เลยที่นี่