ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และรถจักรยานยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้างนะ

การต่อ พ.ร.บ.และการต่อภาษี รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องใส่ใจ ไม่ให้หมดอายุ เพราะหากไม่ได้ต่อภาษี อาจทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ และมีค่าปรับ หรือ หากรถไม่มีพ.ร.บ. ก็จะถือว่าผิดกฎหมาย และมีค่าปรับด้วยเช่นกัน

 

เอกสารสำคัญในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง?

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
  • ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
  • ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)

 

ต่อ พ.ร.บ. ต้องตรวจสภาพรถไหม?

สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่มีรถอายุครบ 7 ปีขึ้นไป และในกรณีรถมอเตอร์ไซค์ที่มีรถอายุ 5 ปีขึ้นไป ต้องตรวจสภาพรถที่ตรอ. ทุกปีก่อนไปดำเนินการต่อพ.ร.บ.เท่านั้น และหากรถของคุณที่ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 1 ปี โดยไม่สนว่ารถจะมีอายุการใช้งานมากี่ปีแล้วก็ตาม จะต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อ พ.ร.บ.เสมอ

วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

ต่อ พ.ร.บ. มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

อัตราค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถยนต์ เช่น รถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก ฯลฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ประเภทรถยนต์โดยสาร

  • รถยนต์เก๋ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง                                      ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 600 บาท
  • รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง                       ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,100 บาท
  • รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง          ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 2,050 บาท
  • รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง         ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 3,200 บาท        
  1. ประเภทรถกระบะ – รถบรรทุก

  • รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน                                ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 900 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน         ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,220 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน       ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,310 บาท
  1. ประเภทรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. คิดในอัตรา 161.57 บาท/ปี
  • เกิน 75-125 ซี.ซี. คิดในอัตรา 323.14 บาท/ปี
  • เกิน 125-150 ซี.ซี. คิดในอัตรา 430.14 บาท/ปี
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป คิดในอัตรา 645.21 บาท/ปี
  • รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คิดในอัตรา 323.14 บาท/ปี
  1. ประเภทรถจักรยานยนต์รับจ้าง / ให้เช่า

  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. คิดในอัตรา 161.57 บาท/ปี
  • เกิน 75-125 ซี.ซี. คิดในอัตรา 376.64 บาท/ปี
  • เกิน 125-150 ซี.ซี. คิดในอัตรา 430.14 บาท/ปี
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป คิดในอัตรา 645.21 บาท/ปี
  • รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คิดในอัตรา 323.14 บาท/ปี
  1. รถประเภทอื่น ๆ

  • รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง                           ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 2,370 บาท
  • รถพ่วง                                                            ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 600 บาท
  • รถยนต์ใช้ในการเกษตร                                 ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 90 บาท

วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

เมื่อเตรียมเอกสารตามที่เราแนะนำไปข้างต้นเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมอัปเดตข้อมูลต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท เพื่อเตรียมเงินไปให้พร้อม และคุณสามารถต่อพ.ร.บ.รถยนต์ได้ที่

  • ตัวแทนประกันภัย หรือโบรกเกอร์ประกันภัย
  • ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
  • กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งทุกพื้นที่

(สามารถทำผ่านเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก ผู้ใช้งานครั้งแรกหากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ก่อน)

วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์ VS ป้ายภาษี

พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ นั้นมีความแตกต่างกัน โดย พ.ร.บ.รถยนต์ คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในขณะที่ ภาษีรถยนต์ คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีที่จ่ายไปก็จะนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไร

พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไร

สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้น ผู้ประสบภัยทุกคนสามารถเบิกได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกในอุบัติเหตุก็ตาม โดยมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้

ตารางความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น (ได้รับโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด)
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) ไม่เกิน 30,000
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร       35,000
2. ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม หรือ ค่าเสียหายส่วนเกิน (ได้รับเฉพาะฝ่ายถูก)
2.1  ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ              ไม่เกิน 80,000
2.2  การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิง 500,000
2.3  กรณีทุพพลภาพถาวร 300,000
2.4  กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000

2.5  สูญเสียอวัยวะ

    – นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป

    – สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน

    – สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน


200,000

250,000

500,000

2.6 เงินชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน (กรณีพักฟื้นเป็นผู้ป่วยใน)  

สูงสุดไม่เกิน 4,000

 

ไม่ใช่เจ้าของสามารถเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม

ไม่ใช่เจ้าของรถสามารถเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม

สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ว่าใครก็สามารถเบิกได้ แม้จะไม่ใช่เจ้าของรถก็ตาม เพราะตามเงื่อนไข เป็นหลักประกันที่สามารถช่วยจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการต่ออายุ พ.ร.บ. จึงเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด เพราะ พ.ร.บ.รถยนต์จะคุ้มครองคนที่ประสบภัยบนท้องถนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถ ผู้โดยสารในรถ บุคคลภายนอกที่เป็นคู่กรณี หรือคนเดินถนน ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เลย อีกทั้งยังจ่ายค่าชดเชยต่าง ๆ ให้อีกด้วย แต่การคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

คุณเป็นฝ่ายผิด เบิกอะไรได้บ้างจาก พ.ร.บ.รถยนต์

  • ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท

คุณเป็นฝ่ายถูก เบิกอะไรได้บ้างจาก พ.ร.บ.รถยนต์

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่น ๆ สูงสุด 80,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท
  • ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)

ซึ่งในกรณีนี้คุณเป็นคนขับไปชนคนอื่น แปลว่าคุณเป็นฝ่ายผิด แต่ถึงจะเป็นฝ่ายผิดยังไง พ.ร.บ.รถยนต์ก็คุ้มครองอยู่ดี ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่ากฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ แล้วถ้า พ.ร.บ.รถยนต์ รีบต่ออายุ พ.ร.บ.รถยนต์ด้วยนะครับ เพื่อความคุ้มครองจะได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

หลังจากต่อ พ.ร.บ.รถยนต์และต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถขับขี่ได้อย่างสบายใจไม่ว่าจะส่งอาหารหรือไปรับส่งใครก็ไม่ต้องเป็นห่วง ซึ่งหากใครที่สนใจ อาชีพขับรถส่งคน หรือส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ สนใจสมัคร ขับรถส่งคน หรือส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ สมัครเลย