ต่อภาษีรถยนต์และต่อภาษีจักรยานยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ในทุก ๆ ปี จะต้องวุ่นวายกับการต่อภาษีรถยนต์ ต่อภาษีจักรยานยนต์ เพราะไม่รู้ว่าต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง หรือรถกี่ปีต้องตรวจสภาพ ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ควรศึกษาข้อมูลและกฎระเบียบให้เข้าใจก่อน เพื่อประหยัดเวลา และลดความยุ่งยากลง

 

ภาษีรถยนต์ คืออะไร ?

ภาษีรถยนต์ คือ ป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมหรือป้ายวงกลมที่เราเรียกกันอย่างติดปาก ซึ่งผู้มีรถยนต์ทุกคนต้องจ่ายภาษีรถยนต์ตามที่กฎหมายบังคับเมื่อถึงกำหนด ซึ่งภาษีรถยนต์ที่เราจ่ายไปในทุกปีทางหน่วยงานภาครัฐจะนำไปพัฒนาปรับปรุงถนน รวมไปถึงการคมนาคมภายในประเทศต่อไป ดังนั้นเจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ทุกปี หากปล่อยให้ขาดอาจทำให้ถูกปรับและเสียเวลาในการดำเนินการต่ออีกด้วย

ภาษีรถยนต์ต่างกับ พ.ร.บ.รถยนต์อย่างไร

ภาษีรถยนต์ต่างกับ พ.ร.บ.รถยนต์อย่างไร

พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ต้องจ่ายทุกปีและถ้าไม่ต่อก็จะมีโทษตามกฎหมาย โดย พ.ร.บ.รถยนต์ คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ 

ภาษีรถยนต์ คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีที่จ่ายไปก็จะนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง 

 

ข้อควรรู้ก่อนทำการต่อภาษีรถยนต์

ข้อบังคับเกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องมีการตรวจสภาพของรถก่อนคือ เมื่อใดก็ตามที่รถยนต์ของคุณมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง หลังจากการใช้งานครบ 7 ปีแล้ว ในปีต่อไปก่อนการต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีรถยนต์เสมอ โดยการตรวจสภาพรถแต่ละครั้ง จะเป็นการคำนวณภาษีรถยนต์รวมไปถึงการทำประกันเพื่อคุ้มครองรถยนต์ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจสภาพรถ โดยจะมีอัตราค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท

         ส่วนของรถจักรยายนต์ก็ต้องตรวจสภาพรถด้วยเช่นกัน เมื่อรถจักรยานยนต์คันนั้นมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ก่อนการต่อภาษีแต่ละครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีด้วย โดยอัตราค่าบริการในส่วนของรถจักรยานยนต์สำหรับการตรวจสภาพรถนั้น มีค่าธรรมเนียมที่คันละ 60 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือจากการต่อ พ.ร.บ.

 

ต่ออายุภาษีรถยนต์ต้องทำยังไง

การต่ออายุภาษีรถยนต์ต้องทำยังไง

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนต่ออายุภาษีรถยนต์

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา)
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป)
  • พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ

สถานที่ต่อภาษีรถยนต์และต่อภาษีรถจักรยานยนต์มีที่ไหนบ้าง

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ  
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

 

ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร

ค่าต่อภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ)

การคำนวณราคาต่อภาษีรถยนต์ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋งทั่วไป ฯลฯ จะคำนวณจากขนาดของเครื่องยนต์ หรือ ซีซี ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์
  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 601–1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท
  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

และยังมีส่วนลดให้สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป โดยจะเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วน ดังนี้

  • รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10%
  • รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20%
  • รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30%
  • รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40%
  • รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%

ค่าต่อภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)

สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ ฯลฯ จะมีวิธีคำนวณราคาต่อภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักเหมือนกับรถบรรทุก แต่คนละอัตราภาษี ดังนี้

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท

ค่าต่อภาษีรถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

สำหรับรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 2 ประตู รถบรรทุก (สังเกตได้จากป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว) ฯลฯ จะมีวิธีคิดคำนวณภาษีตามน้ำหนักรถยนต์ ดังนี้

  • น้ำหนักรถ 0 – 500 อัตราภาษี 300 บาท
  • น้ำหนักรถ 501 – 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. อัตราภาษี 1,950 บาท

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ผ่านแอป DLT Vehicle Tax

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

ค่าต่อภาษีรถจักรยานยนต์

ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดอัตราค่าภาษีประจำปีเอาไว้ว่า รถจักรยานยนต์ให้คำนวณภาษีประจำปีในอัตราดังต่อไปนี้
– รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล อัตราภาษีคันละ 100 บาท
– รถจักรยานยนต์สาธารณะ อัตราภาษีคันละ 100 บาท
– รถพ่วงข้างของรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล อัตราภาษีคันละ 50 บาท

อัตราค่าบริการต่อภาษีรถยนต์และต่อภาษีรถจักรยานยนต์ดังนี้

  • ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท 
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และ VAT 7% ของผลรวมยอดเงินทั้งหมด

 

ปัจจุบันเราสามารถต่อภาษีเล่มทะเบียนรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการขนส่งทางบกได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไป โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ e-service ของกรมการขนส่งทางบก (https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf)
  2. กรณีเคยลงทะเบียนแล้ว สามารถเข้าสู่ระบบโดยกรอกเลขประจำตัวประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้
  3. หากยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนให้กดที่ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ กรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง จากนั้นกดบันทึกการลงทะเบียน
  4. เข้าสู่ระบบ
  5. เลือกเมนู ‘ชำระภาษีรถประจำปี’ และเลือกเมนู ‘ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต’
  6. กรอกข้อมูลการยื่นชำระภาษีให้ครบถ้วนแล้วกดยื่นชำระภาษี
  7. ตรวจสอบข้อมูลการยื่นภาษี (รายละเอียดรถ, เลขไมล์, ข้อมูล พ.ร.บ.)
  8. ตรวจสอบรายการที่ต้องชำระ แล้วกรอกสถานที่จัดส่งเอกสารและช่องทางการชำระเงิน

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ได้ทั้ง  Android (Google Play Store) และ IOS (App Store) 

  1. ลงทะเบียนกรอกข้อมูลชื่อ-นามสกุล อีเมล เลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ แล้วกดปุ่ม “กดเพื่อรับรหัส OTP”
  2. กรอกรหัส OTP ที่ได้รับจากอีเมล แล้วกดยืนยัน ตั้งรหัส PIN 6 หลัก
  3. เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว กดเมนู “ชำระภาษีรถ”   เลือกรูปแบบชำระภาษี 
  4. กรอกข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชนหรือกรอกข้อมูลทะเบียนรถ
  5. เลือกประเภทรถที่ต้องชำระภาษีและ กรอกข้อมูลทะเบียนรถ
  6. เลขทะเบียนนิติบุคคลผู้ครอบครองรถ
  7. กรอกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)
  8.  เลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ทั่วไป  หรือตู้ kiosk เฉพาะในกรุงเทพมหานคร
  9. เลือกช่องทางการชำระเงินได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ SCB Easy App และ QR ชำระเงิน
  10. เมื่อทำการชำระเสร็จสิ้น จะแสดงหน้าต่าง “สิ้นสุดการทำรายการ” 

   ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ระบบออนไลน์

  • ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม

 

ต่อภาษีรถยนต์ต้องตรวจสภาพรถไหม?

การต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องมีการตรวจสภาพของรถก่อนคือ เมื่อใดก็ตามที่รถยนต์ของคุณมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง หลังจากการใช้งานครบ 7 ปีแล้ว ในปีต่อไปก่อนการต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีรถยนต์เสมอ โดยการตรวจสภาพรถแต่ละครั้ง จะมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท

       เมื่อรถจักรยานยนต์คันนั้นมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ก่อนการต่อภาษีแต่ละครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีด้วย โดยอัตราค่าบริการในส่วนของรถจักรยานยนต์สำหรับการตรวจสภาพรถนั้น มีค่าธรรมเนียมที่คันละ 60 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือจากการต่อ พ.ร.บ.

รถยนต์กี่ปีต้องตรวจสภาพ

รถยนต์อายุกี่ปี? ถึงต้องตรวจสภาพ

  •    รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีอายุใช้งานครบ 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก
  •    รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน มีอายุใช้งานครบ 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก
  •    รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก
  •   รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีอายุใช้งานครบ 5 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก

             หากตรวจสภาพรถไม่ผ่านในครั้งแรก และนำรถมาตรวจสภาพรถใหม่ภายใน 15 วัน จะเสียค่าบริการครึ่งหนึ่งของราคาปกติ เเต่หากนำมาตรวจใหม่หลัง 15 วัน จะต้องเสียค่าบริการตรวจสภาพรถใหม่ทั้งหมด

ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์จะเป็นอย่างไร ?

  • โดนค่าปรับ 1% ต่อเดือน
  • ขนส่งระงับทะเบียน(หากต้องการต่อภาษีรถใหม่ จะต้องนำป้ายทำเบียนไปคืนกรมขนส่งทางบก)
  • เสียค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม เช่น ค่าตรวจสภาพ ค่าป้ายใหม่

จะเห็นได้ว่าภาษีรถยนต์เป็นสิ่งสำคัญ และไม่ควรลืมในการต่อภาษีรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ทุกปี เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน นอกจากจะเสียเงินไปกับค่าปรับและเสียเวลาแล้ว ป้ายทะเบียนรถยังอาจถูกระงับการใช้งานอีกด้วย

 หลังจากต่อและต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว จะขับ Grab ไปไหนก็สบายใจ โดนตำรวจเรียกยังไงก็ไม่ต้องกลัวโดนปรับ ซึ่งหากใครที่สนใจขับรถส่งคน หรือส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ สนใจสมัคร ขับรถส่งคน หรือส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ สมัครเลย